แสงไชยหม้อแปลงไฟฟ้า มีนโยบายเน้นการบริการหลังการขายให้ กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

บริษัทเน้นการบริการท่านอย่างรวดเร็วและพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมงานที่มีความชำนาญทางด้านหม้อแปลงไฟฟ้า รวมทั้งให้คำปรึกษา การเลือกใช้หม้อแปลงไฟฟ้าและดูแลรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างถูกวิธี และเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า บริษัทมีหม้อแปลงไฟฟ้าสำรอง ให้ใช้งานกรณีฉุกเฉิน หรือการนำหม้อแปลงไฟฟ้ามาซ่อมแซมทุกครั้งให้ ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน หม้อแปลงไฟฟ้า ซ่อมหม้อแปลงไฟฟ้า, บำรุงและดูแลรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า, ติดตั้งและทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า และบริการปักเสา พาดสาย แรงสูง และแรงต่ำ

แสงไชยหม้อแปลงไฟฟ้า ตำนานกว่า 50 ปี กับ จุดเริ่มต้นเล็กๆ

แสงไชยหม้อแปลงไฟฟ้า ตำนานกว่า 50 ปี กับ จุดเริ่มต้นเล็กๆที่สร้างแสงสว่างให้คนไทยทั้งประเทศ มายาวนาน ตำนานที่ยาวนานและยังรักษาคุณภาพได้ถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในหน่วยงานราชการและเอกชน โดยผลิตตามมาตรฐาน มอก.384-2543, ISO9001:2008, ISO14001, ANSI, IEC, DIN

บริษัท แสงไชยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง-ต่ำ ที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกวงการหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นรุ่นแรกๆของเมืองไทย ซึ่งอยู่แถวคลองถม ช่วงนั้นมีบริษัทหม้อแปลงเพียง 2-3เจ้าในประเทศไทย ทางแสงไชยหม้อแปลงได้ผลิตมาตั้งแต่ปี 2495

ในช่วงปี2506 อาจเป็นความโชคดีที่ลูกค้าเริ่มมีเข้ามามากขึ้น ในช่วงเกิดสงครามเวียดนาม ประเทศไทย กลายเป็นฐานทัพปฏิบัติการของอเมริกา เช่น ตาคลี อุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา อู่ตะเภา น้ำพอง ดอนเมือง สัตหีบ กาญจนบุรี สกลนคร และพิษณุโลก ขณะที่อเมริกาทำสงครามในเวียดนามอย่างเต็มทีนั้น มีทหาร อเมริกันประจำอยู่ในเมืองไทย และได้สั่งหม้อแปลงแสงไชยเป็นจำนวนมาก ตามค่ายทหารต่างๆ และเป็นช่วงจังหวะ ที่แสงไชยหม้อแปลง เริ่มมีทุนในการก่อตั้ง.....

อ่านต่อ คลิกที่นี่ >>

การบำรุงรักษาหม้อแปลง

หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์มีความสำคัญ ในการนำพลังงาน ไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของ ผู้ใช้ไฟ ตั้งแต่ติดตั้งจนถึงปัจจุบัน ถูกใช้ งานตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเกิดการเสื่อมสภาพ และชำรุดได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน และคุ้มค่า โดยมีสิ่ง บ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้อง บำรุงรักษาดังนี้

1. SILICA-GEL (สารดูดความชื้น) หากเสื่อมคุณภาพจะเปลี่ยนจาก สีน้ำเงินเป็นสีชมพูหรือสีดำ ควรเปลี่ยนใหม่
2. ซีลยางชำรุดน้ำมันไหลซึมออกมา
3. ถังหม้อแปลงขึ้นสนิม ผุ ชำรุด
4. อาร์คซิ่งฮอนชำรุด/บิดงอไม่ได้ระยะ (15.5 ซม.)
5. ประเก็นกรอบ/หมดสภาพหรือชำรุดน้ำมันจะไหลซึมออกมา
6. บุชชิ่งแรงสูง - แรงต่ำ บิ่น/แตก ชำรุด หรือมีฝุ่นเกาะหนา อาจเป็นตัวนำให้ไฟรั่วลงดิน ทำให้ไฟดับได้
7. ถังอะไหล่น้ำมันหม้อแปลงมีระดับน้ำมันต่ำจะต้องเติมน้ำมันเพิ่ม
8. ครีบระบายความร้อน...

อ่านต่อ คลิกที่นี่ >>

ความรู้การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

การปลดไฟฟ้าออกจากหม้อแปลง

1. ควรใช้ไม้ชักฟิวส์ปลด dropout fuse เท่านั้น ไม่ควรใช้ไม้ชนิดอื่นแทนและไม้ชักฟิวส์ต้องอยู่ใน สภาพดีไม่เปียกชื้น และต้องใส่ถุงมือยางและถุงมือหนังทุกครั้ง
2. ยืนอยู่ในที่มั่นคงมิให้เสียการทรงตัว ขณะที่ยกไม้ชักฟิวส์หรือไม้ชักฟิวส์โน้มลงขณะชักออก
3. การปลดแรงสูงออก ควรชักด้วยความเร็วพอประมาณ เพื่อลดการอาร์กที่เกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้ หน้าสัมผัสชำรุด และให้ชักเฟสที่อยู่ห่างจากเสาก่อน
4. กรณีอุปกรณ์ป้องกันด้านแรงต่ำของหม้อแปลงใช้คัทเอาท์แรงต่แบบฟิวส์ธรรมดาให้ปลดแรงสูง ก่อนแล้วจึงปลดแรงต่ำเพราะการอาร์กขณะชักที่แรงต่ำจะเป็นอันตรายแก่ผู้ชักมากกว่าแรงสูง เนื่องจากผู้ปฏิบัติอยู่ใกล้อุปกรณ์แรงต่ำมาก
5. กรณีอุปกรณ์ป้องกันด้านแรงต่ำของหม้อแปลงใช้ LT switch แบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ปลดด้านแรงต่ำก่อน
6. ทำกราวด์และช็อตแรงต่ำระบบจำหน่ายเพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าจ่ายย้อนกลับจากผู้ใช้ไฟ

มาตรฐานในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

การติดตั้งหม้อแปลงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมี 3 แบบคือ

1. แบบแขวน ใช้สำหรับติดตั้งหม้อแปลง 1 เฟส ขนาดตั้งแต่ 10-160 KVA
2. แบบนั่งร้าน ใช้สำหรับติดตั้งหม้อแปลง 3 เฟส ขนาดตั้งแต่ 50-250 KVA (กฟภ) และตั้งแต่ 50 - 500 KVA (เฉพาะราย) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3000 กิโลกรัม
3. แบบตั้งพื้น ใช้สำหรับติดตั้งหม้อแปลง 3 เฟส ขนาดตั้งแต่ 315-2,000 KVA

การตรวจสภาพทั่วไปของหม้อแปลง
1. ตรวจสอบการติดตั้งให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
2. ตรวจสอบล่อฟ้าแรงสูง, dropout, ฟิวส์สวิตซ์แรงต่ำ ให้อยู่ในสภาพครบถ้วนและ ขนาดถูกต้องตามพิกัด
3. ตรวจดูที่ดูดความชื้นโดยสังเกตที่สีของ silica gel ถ้าเป็นสีชมพูแสดงว่าเสื่อมสภาพ ต้องเปลี่ยนใหม่
4. ตรวจสอบหัวต่อที่บุชชิ่งหม้อแปลงไม่ให้หลวมเพื่อกันการอาร์ก
5. ตรวจซีลของหม้อแปลงทั้งหมด เพื่อป้องกันน้ำมันหม้อแปลงไหลซึมออกมา
6. ตรวจดูระดับน้ำมัน...

อ่านต่อ คลิกที่นี่ >>

โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า

หม้อแปลงแบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟสแต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย

1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทำหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทำหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า
3. แผ่นแกนเหล็ก (Core) ทำหน้าที่เป็นทางเดินสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและให้ขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
4. ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกับขดลวด
5. แผ่นป้าย (Name Plate) ทำหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
6. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับขดลวด เช่น อากาศ, พัดลม, น้ำมัน หรือใช้ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
7. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้า (Tank) ทำหน้าที่บรรจุ...

copyright 2013 © Sengchai Transformer co.,Ltd.